ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สภาความมั่นคงแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์จะให้มีการพิจารณางาน ในภารกิจทางด้านการทหารเพื่อการป้องกันประเทศ เป็นไปอย่างละเอียดรอบคอบ มีประสิทธิภาพ และมีการประสานงานซึ่งกันและกัน จึงได้ทรงโปรดเกล้าให้มีสภาเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวขึ้นเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ แต่เดิมนั้นยังไม่มีชื่อเรียกเป็นการเฉพาะ แต่เรียกเป็นการทั่วไปว่า “สภาเกี่ยวกับการป้องกันพระราชอาณาจักร” โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประธานฯ
ได้มีการปรับปรุงและแก้ไของค์ประกอบของสภามาเป็นลำดับ กล่าวคือในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้มีการแก้ไขปรับปรุงทั้งในด้านองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ และเรียกชื่อใหม่ว่า “สภาป้องกันพระราชอาณาจักร” จนกระทั่งถึงเดือนกรกฎาคม ๒๔๗๕ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการจัดระเบียบการป้องกันราชอาณาจักรขึ้นใหม่ สภาป้องกันพระราชอาณาจักรจึงถูกยกเลิกไป ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ได้มีการจัดตั้ง “สภาการสงคราม” ขึ้น โดย ออกเป็นพระราชบัญญัติชื่อว่าพระราชบัญญัติสภาการสงคราม ซึ่งนับเป็น พระราชบัญญัติฉบับแรกที่เกี่ยวกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพราะได้การ กำหนดให้สภาการสงครามมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินสงครามทั้งใน ทางทหาร ทางเศรษฐกิจ และการเมือง ตลอดจนสวัสดิภาพของประชาชน สภาการสงครามมีอายุได้เพียง ๘ เดือน ก็ยกเลิกไป เนื่องจากได้มีการจัดตั้ง “สภาป้องกันราชอาณาจักร” ขึ้นแทน โดยออกเป็นพระราชบัญญัติชื่อว่า พระราชบัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักร เมื่อ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๗ หลังจากนั้นเมื่อ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้มีพระราชบัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักรออกมาใหม่ ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิม และใช้อยู่จนกระทั่งได้มีการการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ คือ การยกเลิกพระราชบัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๔๙๙ และประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงจาก “สภาป้องกันราชอาณาจักร” เป็น “สภาความมั่นคงแห่งชาติ” มาจนกระทั่งทุกวันนี้
วิสัยทัศน์
“องค์กรมีความสามารถพร้อมเป็นผู้นำด้านการจัดการความมั่นคงของชาติ ให้มีความสมดุลระหว่างความมั่นคงและการพัฒนา”
พันธกิจ
1) กำหนดทิศทาง ให้คำปรึกษา และเสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทางและแผนด้านความมั่นคงแห่งชาติให้สอดคล้องกับสถานกาณ์และการเปลี่ยนแปลงทั้งในปัจจุบันและอนาคต
2) อำนวยการ ประสาน และติดตามประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทางด้านความมั่นคงไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
3) ประเมินสถานการณ์ด้านความมั่นคง และการเตรียมความพร้อมแห่งชาติและบริหารวิกฤติความมั่นคงในการรับมือภัยคุกคามด้านความมั่นคง
4) พัฒนาองค์ความรู้ความมั่นคงและเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน
5) พัฒนาประสิทธิภาพและเสริมสร้างสมรรถนะองค์กรและบุคลากร เพื่อเป็นองค์กรหลักด้านความมั่นคง
จรรยาบรรณในการปฎิบัติงาน
๑. เป้าหมายและขอบเขต
๑.๑ รับผิดชอบต่อ :
๑.๑.๑ สถาบันหลักของชาติ
๑.๑.๒ สังคมโดยส่วนรวม
๑.๑.๓ นโยบายของรัฐ
๑.๑.๔ ประชาคมความมั่นคง
๑.๒ ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพโดยความเป็นธรรมด้วยความจริงใจ
๑.๓ รักษาและเสริมสร้างผลประโยชน์ของชาติ
๑.๔ ดำเนินการส่งเสริมและริเริ่มภารกิจที่เป็นประโยชน์ด้านความมั่นคงแห่งชาติ
๑.๕ มีความเป็นประชาธิปไตย และดำรงความเป็นกลางทางการเมือง
๒. การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่ ต้องยึดถือหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้
๒.๑ ความซื่อสัตย์สุจริต ต้องเป็นผู้ที่ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี ไม่เห็นแก่ประโยชน์อันมิชอบหรืออันมิควรได้หรือแสวงผลประโยชน์ส่วนตนจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยอาจใช้อิทธิพล อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเพื่อให้เกิดประโยชน์ส่วนตนและส่งผลเสียต่อหน่วยงานซี่งเรียกว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน
๒.๒ ความขยันหมั่นเพียร ต้องอุทิศตนและเวลาให้กับการทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ มีความขยันตั้งใจและเอาใจใส่ต่องานในหน้าที่รับผิดชอบให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
๒.๓ ความรู้ความสามารถ ต้องเอาใจใส่ศึกษาเรียนรู้งานในหน้าที่ เตรียมความพร้อมตลอดเวลา เพื่อให้มีความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
๒.๔ ความมีระเบียบวินัย ต้องประพฤติปฏิบัติตามตัวบทกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่ง ตลอดจนจรรยาบรรณนี้อย่างเคร่งครัด
๒.๕ การรักษาความลับของข้าราชการ ต้องมีจิตสำนึกแห่งการรักษาความปลอดภัย และปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและคำสั่ง
๒.๖ การพัฒนาแบบบูรณาการ ต้องร่วมมือพัฒนาและสร้างสรรค์สำนักงานให้เป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ เปิดกว้าง ปฏิบัติงานในลักษณะองค์รวม มุ่งเน้นประสิทธิภาพ โดยรวมพลังแรงกายและแรงใจของเจ้าหน้าที่ทุกคน
๒.๗ การรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ ต้องรักษาผลประโยชน์ของทางการในการบริหาร และการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพและอย่างประหยัด การรักษาทรัพย์สินของทางราชการให้อยู่ในสภาพที่ดีและให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๒.๘ การสร้างจิตสำนึกที่ดีงาม ต้องมีความรับผิดชอบในเป้าหมายแห่งจรรยาบรรณ การมีวิสัยทัศน์ที่ก้าวหน้าและกว้างไกล การปรับปรุงตนเองและสำนักงานฯ โดยมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม ของระบบราชการตามหลักการจัดการภาครัฐแนวใหม่และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
๒.๙ ความถูกต้องความชอบธรรม ต้องยึดหลักความถูกต้อง ชอบธรรมตามหลักธรรมาภิบาล ในการปฏิบัติตนและการปฏิบัติ หน้าที่ทั้งปวง
๓. ข้อพึงปฏิบัติเพื่อความสำเร็จและความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน
๓.๑ ข้อพึงปฏิบัติตน
๓.๑.๑ ประพฤติตนให้เหมาะสมทั้งทางวาจา กิริยามารยาท การแต่งกายบุคลิก และการวางตัว
๓.๑.๒ ไม่ประพฤติในทางเสื่อมเสียชื่อเสียงต่อตนเองและต่อสำนักงาน
๓.๑.๓ ใฝ่ใจในการพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มความรู้ ความสามารถพัฒนางานของตนและสำนักงานให้บังเกิดผลดียิ่งขึ้น
๓.๑.๔ มีศีลธรรมจรรยาในการประพฤติตน และยึดมั่น สร้างสรรค์ความรักสามัคคีทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน
๓.๒ ข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน
๓.๒.๑ ศึกษาและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติทั้งภายในและระหว่างประเทศ และข้อกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ คำสั่ง หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่
๓.๒.๒ ศึกษางานในหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างจริงจัง เพิ่มพูนขีดความสามารถของตนเองอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา
๓.๒.๓ ศึกษาและพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถ ในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านการสร้างระบบและการใช้ข้อมูลข่าวสารคอมพิวเตอร์ ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยอื่น ๆ
๓.๒.๔ รักษาความลับของทางราชการอย่างเคร่งครัด
๓.๒.๕ ไม่ให้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับงานโดยไม่มีหน้าที่ หรือไม่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งการ
๓.๓ ข้อพึงปฏิบัติในฐานะผู้บังคับบัญชา
๓.๓.๑ ผู้บังคับบัญชาระดับสูงต้องกำหนดนโยบายวางแผนจัดระบบบริหารงานและบุคคล สร้างระบบและสภาพแวดล้อมการทำงานใหม่และเอื้อต่อการเรียนรู้ของสำนักงานฯ โดยยึดหลักความถูกต้อง ชอบธรรม
๓.๓.๒ เป็นผู้นำที่มีกระบวนทัศน์ใหม่ในการปฏิบัติราชการและเป็นแบบอย่างที่ดีมีวิจารณญาณอันชอบธรรม ให้เกียรติไว้วางใจผู้ใต้บังคับบัญชา และสามารถครองใจผู้ใต้บังคับบัญชา
๓.๓.๓ มีศีลธรรม มีคุณธรรม และมีความยุติธรรม ไม่ลำเอียง
๓.๓.๔ สอนงาน แนะนำงาน ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์และพัฒนาความรู้และศักยภาพแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความก้าวหน้าในราชการ
๓.๓.๕ ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานโดยเปิดโอกาสให้มีการริเริ่ม สร้างสรรค์ แสดงความรู้ความสามารถ
๓.๓.๖ เอาใจใส่ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา เปิดกว้างรับฟังปัญหา และข้อคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้คำปรึกษาหารือด้วยความจริงใจ ให้กำลังใจ มีเหตุผล และมีความเมตตากรุณา
๓.๓.๗ สร้างเสริมขวัญกำลังใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
๓.๓.๘ ส่งเสริมความสามัคคีให้เกิดขึ้นในสำนักงาน
๓.๔ ข้อพึงปฏิบัติในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชา
๓.๔.๑ ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วย กฎหมาย ระเบียบแบบแผน และข้อปฏิบัติของทางราชการ
๓.๔.๒ เคารพในวิจารณญาณของผู้บังคับบัญชา ไม่แสดงอาการก้าวร้าว หากมีปัญหาในเรื่องใด อาจขอปรึกษาหารือได้ด้วยการใช้กิริยาวาจาอันสุภาพ
๓.๔.๓ เต็มใจปฏิบัติงานตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายด้วยความรวดเร็วและเต็มความสามารถ เพื่อให้งานที่ได้รับมอบหมายเป็นผลสำเร็จทันเวลา
๓.๔.๔ มีความสุจริตใจ ให้เกียรติ รู้กาลเทศะ และนบน้อมถ่อมตน
๓.๔.๕ มีความจริงใจในการสนับสนุนการทำงานของผู้บังคับบัญชา หาโอกาสเสนอความคิดเห็นเพื่อการปรับปรุงระบบการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
๓.๔.๖ ประพฤติปฏิบัติตนต่อผู้บังคับบัญชาตามวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงาม
๓.๕ ข้อพึงปฏิบัติในฐานะผู้ร่วมงาน
๓.๕.๑ ให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานด้วยความจริงใจและเต็มความสามารถ
๓.๕.๒ ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงาน ด้วยความสุภาพปราศจากอคติให้เกียรติซึ่งกันและกัน
๓.๕.๓ รับฟังข้อคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน อดทน อดกลั้น รู้จักข่มใจ และให้อภัยซึ่งกันและกัน
๓.๕.๔ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเพื่อนร่วมงานและนำมาปรับปรุงงานให้ก้าวหน้า
๓.๕.๕ เป็นผู้มีวัฒนธรรมอันดี ยึดถือระเบียบปฏิบัติและคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบแบบแผน และข้อปฏิบัติของทางราชการอย่างเคร่งครัด
๓.๕.๖ รู้จักสามัคคี และละเว้นการกระทำที่สร้างความแตกแยก
๓.๕.๗ มีความเสียสละเพื่อส่วนร่วม ส่งเสริมและร่วมกิจกรรมที่สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ
๔. ข้อพึงปฏิบัติต่อหน่วยงานอื่น
๔.๑ ให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจกับหน่วยงานอื่น ๆ และพร้อมที่จะให้ข้อคิดเห็นอย่างเป็นกลางในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ แก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่ร้องขอ
๔.๒ อำนวยการ กำกับดูแล และติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายแนวทางปฏิบัติและมาตรการต่าง ๆ ที่หน่วยปฏิบัติรับไปดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๓ ประสานงานและสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับหน่วยราชการในประชาคมข่าวกรอง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ข่าวเพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคง
๔.๔ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทุกระดับกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยมุ่งหมายให้เกิดความร่วมมือที่ดี และมีเอกภาพในการปฏิบัติงานเพื่อเสริมสร้างผลประโยชน์และความมั่นคงแห่งชาติ
webmaster –
แนวข้อสอบ นักจัดการงานทั่วไป สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมเฉลย 2561
– ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
– ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาท และหน้าที่ของสำนักงานสภาความมั่นของแห่งชาติ
⁃ พระราชบัญญัติระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
⁃ แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
⁃ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560
⁃ แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560
– สรุป พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
⁃ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับทางราชการ พ.ศ. 2544
⁃ แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับทางราชการ พ.ศ. 2544
⁃ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540
⁃ แนวข้อสอบ พรบ.ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540
– ความรู้เกี่ยวกับการวางแผน การบริหารโครงการและงบประมาณ
⁃ สรุปสาระสำคัญพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
⁃ แนวข้อสอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
– ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ
– แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ
– การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office
– แนวข้อสอบการใช้งานโปรแกรม Microsoft Office
– สรุปข่าวเด่น เหตุการณ์สำคัญรอบโลก
– เทคนิคสอบสัมภาษณ์
– ไฟล์เสียง MP3 เทคนิคการแต่งกาย และ ตัวอย่างสคริปคำตอบ การสอบสัมภาษณ์เข้างานราชการ